AGPS (Assistance GPS) เป็นระบบช่วยเหลือการทำงานของ GPS ให้มีการเริ่มทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีความแม่นยำสูงยิ่งขึ้นโดยมีการรับข้อมูลที่จำเป็นในการเริ่มต้นการทำ งานของ GPS Receiver รวบรวมไว้ในServer ที่ทำการเชื่อมต่อกับจานรับสัญญาณดาวเทียมตลอดเวลาเมื่อ GPS Receiver เริ่มทำงานจะติดต่อกับServer ผ่านทาง Network ข้อมูลเบื้องต้นในการคำนวณต่างๆ จะถูกส่งผ่านNetwork เพื่อเป็นค่าเริ่มต้นในการทำงานทำให้ลดเวลาในการเริ่มต้นให้ลดลงเหลือเพียง ไม่ถึง 3 วินาทีในสภาวะสัญญาณอ่อนการทำงาน (ปกติจะอยู่ที่ 15-30 วินาที ในที่ระดับสัญญาณปกติ และ 1 นาทีขึ้นไปในระดับสัญญาณอ่อน)สามารถใช้งาน GPS ได้เมื่ออยู่ในที่อับสัญญาณแต่เนื่องจากต้องติดต่อกับเครื่อข่ายมือถือจึง เสียค่าบริการ Gprs/edge ในการใช้งาน
ทำไมจึงต้องมี AGPSในการคำนวนตำแหน่ง ของอุปกรณ์ GPS นั้น จะต้องอาศัยข้อมูล 3 อย่าง คือ
1. ข้อมูลวงโคจร
2. เวลาปัจจุบัน
3. ระยะเวลาในการเดินทางของสัญญาณ GPS จาก ดาวเทียมมาสู่เครื่องรับ GPS
เนื่องจากได้มาซึ่งข้อมูลทั้ง 3 อย่างจากดาวเทียม GPS อย่างน้อย 3 ดวง จากสัญญาณ GPS ตรงๆ นั้น มีข้อจำกัดอยู่หลายประการณ์ เช่น
1. ใช้เวลานาน ในการหาตำแหน่ง: การรับสัญญาณ GPS ของอุปกรณ์รับ GPS จะสามารถ synchronize(เชื่อมต่อข้อมูล GPS) ได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะ ข้อมูลวงโคจร ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญและมีขนาดใหญ่ การรับสัญญาณ GPS ครั้งแรก ประมาณ 30 วินาที ในกรณี ไม่มีการเคลื่อนที่ หากมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาก็จะใช้เวลามากกว่านั้นมาก
2. สัญญาณ GPS ที่มาถึงโลกอ่อนและถูกบดบังได้ง่าย : สัญญาณ GPS สามารถถูกบดบังได้ง่ายจากโลหะ ทำให้จำเป็นต้องให้อุปกรณ์ GPS เห็นท้องฟ้า คือต้องอยู่ในที่โล่งแจ้ง จึงจะสามารถรับสัญญาณ GPS ได้ดี ซึ่งหากอยู่ในที่มีการบดบัง เช่น เขตอาคารสูง ก็จะเกิดอาหาร Miltipath ซึ่งทำให้เกิดอาการกระโดดไปมาของการแสดงตำแหน่ง
3. สิ้นเปลืองพลังงาน: การที่จะให้ได้ตำแหน่งที่ต่อเนื่อง จำเป็นต้องเปิด Synchonize ดาวเทียมตลอดเวลา ซึ่งทำให้มีปัญหาพลังงานไม่เพียงพออยู่บ่อยครั้ง เพราะ Chipset GPS จะกินพลังงานอยู่ ที่ 80-20 mA ซึ่งถือว่ามากสำหรับ Battery ลูกเล็กๆ ของโทรศัพท์มือถือ
จากปัญหาดังกล่าว จึงมีการค้นคิดหาวิธีที่จะทำให้ GPS สามารถทำงานได้เร็วขึ้นและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง ประกอบกับเทคโลยี ด้านการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีความเร็วมากขึ้นและการมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาจาก GPS ทั่วไป มาเป็น A-GPS
